การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
การแสดงภาคใต้
ลักษณะนิสัยของคนภาคใต้
ดุดันหนักแน่น มุทะลุ เสียงดังฟังชัด ภูมิประเทศติดชายทะเล อาชีพประมงและทำสวนยาง
มีวัฒนธรรมหลากหลาย แบบผสมผสานของเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย ดนตรีที่ใช้เน้นเครื่องตี
เสียงดังเช่นกลอง การแสดงไม่มีมากมายแต่เดิม
ยืนพื้นต่อมาได้มีการแสดงเกิดขึ้นใหม่หลายรูปแบบ
เช่น
- ระบำย่านลิเพา - ระบำซำเป็ง
- ระบำชนไก่ - ระบำอัสรี
- ระบำหนังตะลุง - ระบำทักษิณนารี
- ระบำนางดาน - ระบำจินตปาตี
- ระบำบูชาพระธาตุ - ระบำเปี้ยวหรือระบำหมวก
- ระบำกะลา - ระบำนกกรงหัวจุก
- ระบำบาติค - ระบำตารีมาลากัส
- ระบำร่อนแร่ - ระบำตุมปัง
- ระบำกรีดยาง - ระบำนกเขามะราปี
- ระบำปาเต๊ะ - ระบำทอผ้าเกาะยอ
- ระบำชักพระ - ระบำตารียอเก็ต
- ระบำชักพุ่มผ้าป่า - ระบำกุมภนารีหรือปั้นหม้อ
- ระบำทอยล้อ - ระบำสานจูด
- ระบำตารีกีปัส - เพลงบอก
- ระบำกินนรร่อนรำ - ลิเกป่า
- ระบำศรีวิชัย - หนังตะลุง
- ระบำซัดชาตรี - มโนราห์
- ระบำกาหยู
หนังตะลุง
หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้มาแต่โบราณ และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ หนังตะลุงเป็นมหรสพทีได้รับการนิยมจากผู้ดูอย่างกว้างขวาง การแสดงหนังตะลุงเป็นการแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังตะลุงผนวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงจะสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้ หนังตะลุงมิได้ให้แต่ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น ยังได้สอดแทรกคติธรรม จริยธรรม การศึกษา ฯ ลฯ แก่ผู้ชมอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงนั้น มีความเชื่อกันว่า เผยแพร่มาจากชวา(อินโดนีเซีย) มายังมาเลเซีย แล้วคนไทยทางภาคใต้ไปได้แบบอย่างมาอีกทีหนึ่งจากเมืองยะโฮร์ มาฝึกหัดเล่นในเมืองไทย โดยเฉพาะครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง ที่เรียกว่าหนังตะลุงนั้น คำว่าหนัง ก็คือ เอาหนังวัว หนังควาย มาตัดฉลุเป็นรูป ส่วนคำว่าตะลุงก็คงมาจากคำว่าพัทลุงนั่นเอง เคยมีคำนิยมเรียกหนังตะลุงว่า "หนังควน " เพราะเกิดขึ้นที่บ้านควนมะพร้าว เป็นแห่งแรกนอกจากนี้ยังมีข้ออ้างอิงอื่น ๆ ซึ่งยืนยันว่าได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่พัทลุง
หนังตะลุง มี อยู่ 13 ตัว ได้แก่ นายสีแก้ว นายยอดทอง นายเท่ง นายขวัญเมือง นายสะหม้อ อ้ายอินแก้ว อ้ายโถ อ้ายพูน อ้ายกรั้ง อ้ายปราบ อ้ายดิก อ้ายคงรอด อ้ายจีนจ๋อง
(ที่มา : https://sites.google.com/site/hnangtalungphunbanrea/prawati-khwam-pen-ma)
ลิเกป่า
มีผู้กล่าวว่าลิเกป่าได้แบบอย่างมาจากพวกแขก
กล่าวคือ คำว่า "ลิเก"
มาจากการร้องเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้าของแขกเจ้าเซ็นที่เรียกว่า "ดิเกร์" ซี่งเป็นภาษาเปอร์เซีย
เพราะนิกายเจ้าเซ็นนี้มาจากเปอร์เซีย
พวกเจ้าเซ็นที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยเคยได้รับพระราชูปภัมถ์มากมายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา
เพราะพวกเจ้าเซ็นมีเสียงไพเราะ ร้องเพลงเป็นที่นิยมฟังกันทั่วไป
ต่อมาไม่นานนอกจากพวกเจ้าเซ็นแท้ๆ แล้วก็มีคนไทยหัดร้องเพลงดิเกร์ขึ้น
ขั้นแรกก็มีทำนองการใช้ถ้อยคำเหมือนกับเพลงสวด
ต่อมาเมื่อคนไทยนำมาร้องก็กลายเป็นแบบไทย
และคำว่าดิเกร์ก็เพี้ยนมาเป็นลิเกหรือยี่เก
แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากพิจารณาถึงเครื่องดนตรี
รำมะนาที่ลิเกป่าใช้ประโคมประกอบการเล่นนั้น ชวนให้เข้าใจว่าการเล่นลิเกป่าน่าจะได้แบบอย่างมาจากมลายู
เพราะมลายูมีกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระบานา" (Rebana) ซึ่งมีสำเนียงคล้ายกับรำมะนาของไทยเราดังกล่าวแล้ว
(ที่มา: http://www.tungsong.com/NakhonSri/Cultures&Games_Nakhonsri/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/index_likaepa.htm)
มโนราห์
เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้
มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด
ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว
มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง
แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย
(ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C_%28%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%29 )
เพลงบอก
เพลงบอก คือการแสดงชนิดหนึ่งของไทย
เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง
อันได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา
นิยมเล่นในวันตรุษสงกรานต์ เป็นการบอกข่าวของชาวบ้านทุกละแวกให้ทราบว่าใกล้ถึงปีใหม่แล้ว
หรือเป็นการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่นบอกข่าวเชิญไปทำบุญตามเหตุการณ์
ต่าง ๆ เรียกได้ว่า
เพลงบอกเป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งของชาวใต้ซึ่งคู่กับชาวบ้านมานานตั้งแต่โบราณ
และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
นครศรีธรรมราชได้ชื่อว่า เป็นจังหวัดที่มีนักเล่นเพลงบอกมากที่สุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน
จนได้รับสมญานามว่า เมืองเพลงบอก นอกจากมีนักเล่นเพลงบอกเป็นจำนวนมากแล้ว
นักเล่นเพลงบอกที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมชมชอบว่ามีฝีปากคมคายเป็นที่ดีเยี่ยมส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
เพลงบอกจะแต่งเป็นบทกลอน
มีฉันทลักษณ์เป็นแบบฉบับของตนเอง ส่วนมากกลอนหนึ่งบทจะประกอบด้วย ๔ วรรค
สามวรรคแรกจะมีวรรคละ ๖ คำ ส่วนวรรคสุดท้ายจะมี ๔ คำ
เพลงบอกจะต้องมีลูกคู่คอยร้องรับ ซึ่งเพลงบอกคณะหนึ่ง ๆ จะมีลูกอย่างน้อย ๒ คน
หรือมากสุดไม่เกิน ๔ คน และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการขับร้องเพลงบอกมี ๒ ชนิด
คือ ฉิ่ง ๑ คู่ และกรับ ๑ คู่
ปัจจุบันนี้เพลงบอกนอกจากจะนิยมเล่นกันในวันสงกรานต์แล้วยังนิยมเล่นในงานสำคัญต่าง
ๆ เช่น งานผูกพัทธสีมา งานศพ งานบวชนาค งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแห่พระ
งานประจำปีของวัด งานทอดกฐินผ้าป่าต่าง ๆ
และได้มีการจัดการแข่งขันประชันเพลงบอกขึ้น
การประชันเพลงบอกสมัยก่อนจะจัดขึ้นภายในวัด
โดยมีแม่เพลงบอกนั่งร้องขับบทกันที่ศาลากลางวัด
แม่เพลงผู้อวุโสจะเป็นผู้แสดงฝีปากก่อน ซึ่งจะเริ่มร้องด้วยบทไหว้ครู
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าบ้านผ่านเมือง เมื่อแม่เพลงร้องจบ
ฝ่ายตรงข้ามจะเริ่มร้องบทไหว้ครูเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันนี้การประชันเพลงบอกจะมาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเพลงบอกจะดีหรือไม่
คือการสังเกตที่ฉัทลักษณ์ว่าถูกต้องตามแบบของกลอนเพลงบอกหรือไม่
นอกจากนี้ยังสังเกตจากการเลือกสรรคำมาใช้ ดูคำศัพท์ สำนวนโวหาร ว่ามีความคมคาย
กว้างแคบ หรือใช้ได้เพียงไร การดูปัญญาความรอบรู้ และปฏิภาณไหวพริบของแม่เพลง
การนำเสนอความคิดเห็นที่แยบคาย แปลกใหม่ ดูท่วงทำนอง ลีลาจังหวะ สุ้มเสียง
และการร้องรับของลูกคู่
ค่านิยมที่ปรากฏในเพลงบอกที่เด่น ๆ
มีอยู่ ๒ ประเด็นการคือ การเคารพยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์
และการเคารพยกย่องครูอาจารย์
นอกจากนี้ในบทกลอนเพลงบอกยังสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่และการละเล่นต่าง ๆ
ของชาวภาคใต้ ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเมืองการปกครองอีกด้วย
ปัจจุบันนี้ความนิยมชมชอบเพลงบอกกำลังลดน้อยลงเนื่องจากเยาวชรับอิทธิพลจากต่างชาติเข้ามามาก
ผู้สนใจที่จะสืบทอดวัฒนพื้นบ้านเพลงบอกมีน้อยลง
เราจึงควรร่วมมือกันในการเผยแพร่มรดกพื้นบ้านนี้ออกไปให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปและร่วมกันส่งเสริมให้เยาวชนหันมานิยมศิลปพื้นบ้าน
และร่วมสืบทอดเพื่อไม่ให้เพลงบอกสูญหายไปจากนครศรีธรรมราช
(ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81)
รำตารีกีปัส
เป็นศิลปะการแสดงระบำพื้นเมืองของทางภาคใต้ ที่ใช้พัดประกอบการแสดง ประกอบกับเพลงที่มีความไพเราะน่าฟัง
ลีลาท่ารำจึงอ่อนช้อย และเป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี นอกจากนั้นยังได้นำไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ ในงานมหกรรมพื้นบ้านโลก
อาทิเช่น ประเทศตุรกี ประเทศโปแลนด์ ประเทศบัลแกเรีย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศรัสเซีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
(ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA)
ระบำกินนรร่อนรำ
ระบำศรีวิชัย
ระบำศรีวิชัย เป็นระบำโบราณคดี เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ.2509 โดยได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงกัวลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียว่า นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการได้นาฎศิลป์จากประเทศไทย ไปถ่ายภาพยนตร์เรื่อง Raja basiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ท่านตนกูแต่งขึ้น ขึ้นขอให้กรมศิลปากรจัดชุดการแสดงให้ 2 ชุด คือ รำซัดชาตรี ระบำศรีวิชัย สำหรับระบำศรีวิชัยเป็นระบำค้นคว้าขึ้นใหม่ โดยหาแบบอย่างเครื่องดนตรี เช่น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า จากภาพจำหลักจากพระสถูปบุโรพุทโธ บนเกาะชวา และมอบให้ศาสตาจารย์มนตรี ตราโมทย์ เลือกเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบ้าง นำมาผสมผสานปรับปรุงจนเป็นจังหวะระบำศรีวิชัย
ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลานาฎศิลป์
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงระบำศรีวิชัย
1.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง
2.เครื่องดนตรีประเภทเครืองสี ได้แก่ ซอ 3 สาย
3.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง 3 ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ
4.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย
เครื่องแต่งกาย
1.เสื้อตัวใน
2.ผ้านุ่ง
3.ผ้าคาดรอบสะเอว
4.เข็มขัด ต่างหู สร้อยคอ
5.สร้อยสะโพกด
6.กำไลข้อแขน,มือ,เท้า
7.กระบังหน้า
8.ปิ่นปักผม
(ที่มา : http://th49.ilovetranslation.com/PGQ4GMwfsNL=d/)
ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลานาฎศิลป์
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงระบำศรีวิชัย
1.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง
2.เครื่องดนตรีประเภทเครืองสี ได้แก่ ซอ 3 สาย
3.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง 3 ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ
4.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย
เครื่องแต่งกาย
1.เสื้อตัวใน
2.ผ้านุ่ง
3.ผ้าคาดรอบสะเอว
4.เข็มขัด ต่างหู สร้อยคอ
5.สร้อยสะโพกด
6.กำไลข้อแขน,มือ,เท้า
7.กระบังหน้า
8.ปิ่นปักผม
(ที่มา : http://th49.ilovetranslation.com/PGQ4GMwfsNL=d/)
ระบำซัดชาตรี
รำ ซัดชาตรี ปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครโนรา-ชาตรี ซึ่งเป็นละครรำแบบเก่าแก่ชนิดหนึ่งของไทย และแพร่หลายอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า ละครชาตรีนี้เป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครโนรา-ชาตรีทางภาคใต้ถือเป็นธรรมเนียมกันว่า
ผู้แสดงฝ่ายชาย (ตัวพระหรือนายโรง) จะต้องรำไหว้ครูอย่างที่พื้นเมืองเรียกว่า
"รำซัด" เป็นการเบิกโรงเสียก่อน การรำซัดไหว้ครูนี้เป็นการรำเดี่ยว คือรำคนเดียวโดยมีปี่โทน กลอง
กรับ และฆ้องคู่ เป็นเครื่องดนตรีเล่นประกอบจังหวะ
ครั้งต่อมาเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2499 กรมศิลปากรได้มอบให้อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ และอาจารย์มัลลี (หมัน) คงประภัศร์
ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร (ปัจจุบันท่านทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว) ฝึกซ้อมนาฏศิลป์ให้รำซัดชาตรีเป็นระบำชุม
โดยปรับปรุงท่ารำให้เป็นแบบแผน ดนตรีประกอบรำซักชาตรีมี ปี่ กลอง โทน กรับ และฆ้องคู่ ให้ผู้แสดงเป็นชายจริง หญิงแท้ ออกแบบเครื่องแต่งกายใหม่ โดยประสงค์ให้แสดงถึงลักษณะของการแสดงแบบชาตรี
อันมีเค้ามาจากการแสดงมโนราห์ของชาวใต้ ซึ่งแพร่หลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้แสดงเป็นผู้รำฝ่ายพระจะไม่สวมเสื้อ
คงไว้แต่เครื่องประดับ หากเป็นผู้หญิงรำเป็นตัวพระ ก็ให้สวมเสื้อแขนสั้นเสมอไหล่ ใส่อินทรธนู
ส่วนตัวนางนั้น ได้กำหนดแบบการนุ่งผ้าและเสื้อนาง กรองคอใหม่ผิดไปจากการแต่งกายของละครรำดั้งเดิม ภายหลังที่ปรับปรุงแล้วได้นำออกแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายครั้งหลาย
หน ก็ปรากฏว่าได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมเป็นอย่างดี นับเป็นวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทยอีกแบบหนึ่ง
(ที่มา : https://sites.google.com/site/ajanthus/ra-sad-chatri)
(ที่มา : https://sites.google.com/site/ajanthus/ra-sad-chatri)